ขอเชิญส่งบทความ

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี จัดทำโดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นวารสารระดับชาติ ราย 6 เดือน รับบทความวิจัย/บทความวิชาการ เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่แบบ online ผ่าน https://journal.fiet.kmutt.ac.th และแบบรูปเล่ม (print) ปีละ 2 ฉบับ

  • ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน (เผยแพร่ เดือนมิถุนายน) กำหนดส่งต้นฉบับ ภายในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปี
  • ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม (เผยแพร่ เดือนธันวาคม) กำหนดส่งต้นฉบับ ภายในวันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี

วารสารแต่ละฉบับมีบทความจำนวน 8 - 10 เรื่อง ความยาว 1 บทความ ไม่เกิน 12 หน้ากระดาษ ไม่มีการเก็บค่าตีพิมพ์สำหรับวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี ทั้งฉบับแบบ online และแบบรูปเล่ม (print) ในปีที่ 1 - 2 อย่างไรก็ตาม กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการที่จะเก็บค่าตีพิมพ์บทความ หากมีค่าใช้จ่ายในการประเมินบทความหรือตรวจแก้ไข หรือหากบทความที่ผ่านการประเมินและได้ตอบรับให้ตีพิมพ์แล้ว มีจำนวนหน้ามากเกินกว่า 12 หน้าตามรูปแบบของวารสาร หรือมีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มกรณีที่ผู้ส่งบทความต้องการเล่ม ซึ่งจะมีการแจ้งให้เจ้าของบทความได้รับทราบล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้ส่งบทความยินดี

  • เพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ จากผลงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการ ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างระบบการเรียนรู้ สำหรับการพัฒนากำลังคนของชุมชน องค์กรภาคการศึกษาหรือภาคอุตสาหกรรม
  • เพื่อส่งเสริมการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของ คณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษา ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ โดยเน้นผลงานวิจัยและพัฒนาที่มีคุณค่าและผลกระทบต่อชุมชน สังคม องค์กร และประเทศชาติ

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ประเภทต่าง ๆ ได้แก่ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full-length research article) บทความเนื้อหาสั้น (Short communication) บทความปริทัศน์ (Review article) และบทความวิชาการ (Academic article) จากผู้เขียนทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ รวมทั้งภายนอกประเทศ สำหรับภาษาไทยจะมีชื่อผู้เขียนและบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กองบรรณาธิการวารสารยินดีรับพิจารณาบทความของอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษา ในสาขาการศึกษา สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรือสาขาด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่ทำงานวิจัยหรืองานบริการวิชาการเชิงบูรณาการศาสตร์ ทำให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ใหม่ ๆ สามารถนำผลงานหรือองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ สร้างคุณค่าและมีผลกระทบต่อการพัฒนาสังคม องค์กร โครงการ หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ บทความมีความเกี่ยวข้องกับหัวข้อใน 2 ประเด็นหลัก ดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมในการเรียนรู้เพื่อการพัฒนากำลังคน (Innovation in Learning for Manpower Development) อาทิเช่น
            1.1 การออกแบบหลักสูตรและการสอน (Curriculum and Instruction Design)         
            1.2 เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technologies)
            1.3 การพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านการสอน (Professional Development in Teaching)
            1.4 การประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Outcome Assessment)
            1.5 การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge Management and Transfer)
            1.6 หัวข้อที่เกี่ยวข้องในการสอนและการเรียนรู้ (Related Topics in Teaching and Learning)

2. บูรณาการเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรม (Technology Integration for Industrial Development) อาทิเช่น
            2.1 วิศวกรรมและเทคโนโลยีประยุกต์ (Engineering and Technology Application)
            2.2 การวิจัยและพัฒนาวัสดุ (Material Research and Development)
            2.3 การออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนากระบวนการ (Product Design and Process Development)
            2.4 พลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืน (Renewable Energy for Sustainability)
            2.5 การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industrial Technology Management)
            2.6 หัวข้อที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาอุตสาหกรรม (Related Topics in Industrial Development)

ผู้เขียนบทความจะต้องจัดเตรียมบทความเพื่อรับการประเมิน โดยพิมพ์ต้นฉบับด้วย Microsoft Word for Windows หรือ ซอฟต์แวร์อื่นที่ใกล้เคียงกัน ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ทั้งหมด (ดูรูปแบบการเขียนตามตัวอย่าง) เมื่อจัดพิมพ์ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว จำนวนหน้าทั้งหมดไม่ควรเกิน 12 หน้า รวมทั้งรูปและตาราง โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

  • ชื่อเรื่อง : กระชับ ชัดเจน ครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้เขียนบทความและผู้ร่วมบทความ : ระบุชื่อ นามสกุลของผู้เขียนทุกคน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิ รวมทั้ง หน่วยงานต้นสังกัดของทุกคนอย่างชัดเจน เติมหมายเลขที่ชื่อของผู้เขียนทุกคนให้ตรงกับรายละเอียดของแต่ละคน และระบุสัญลักษณ์ * ที่ชื่อผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) รวมทั้งมี E-mail address เพื่อการติดต่อ
  • บทคัดย่อ : บทความที่เป็นภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ จัดหน้าเป็นแบบคอลัมน์เดี่ยว มีความยาวไม่เกิน 300 คำ หรือไม่ควรเกิน 15 บรรทัด พร้อมทั้งกำหนด คำสำคัญ (Keywords) ประมาณ 3-5 คำ เพื่อใช้สำหรับสืบค้นบทความ
  • บทนำ : กล่าวถึงที่มา ความจำเป็น วัตถุประสงค์ และความสำคัญของเรื่อง จัดหน้าเป็นแบบคอลัมน์เดี่ยว
  • เนื้อหา : นำเสนอข้อมูลวิชาการในการวิเคราะห์หรือวิพากย์ หากเป็นบความวิจัยควรประกอบด้วย วิธีดำเนินการวิจัย และผลการวิจัย จัดหน้าเป็นแบบคอลัมน์เดี่ยว เมื่อขึ้นประโยคใหม่ให้มีการย่อหน้า หากมีรูปภาพ ตาราง หรือแผนภูมิประกอบ ควรระบุลำดับที่ของตารางและรูป พร้อมคำอธิบาย ชื่อตารางอยู่เหนือตาราง ส่วนชื่อรูปอยู่ใต้รูป และไฟล์รูปภาพควรมีความละเอียดไม่ต่ำกว่า 300 dpi (1200 x 600 pixels) หากจำเป็นต้องมีการใช้หน่วยในบทความ ให้ใช้หน่วยในระบบ SI หรือหน่วยอื่นใดตามที่จำเป็นในสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • บทสรุป หรือสรุปผลการวิจัย : เป็นการสรุปแนวคิดที่ได้จากบทความ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการนำข้อมูลจากบทความนี้ไปใช้ประโยชน์
  • กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) : จัดแบบคอลัมน์เดี่ยว เช่นเดียวกับเนื้อหา
  • เอกสารอ้างอิง (References) : ใช้ระบบการอ้างอิงและบรรณานุกรมแบบ IEEE โดยใช้ระบบตัวเลข ซึ่งกำหนดหมายเลขเอกสารไว้ในวงเล็บใหญ่ [ ] ท้ายข้อความที่อ้างอิง จัดแบบคอลัมน์เดี่ยวเช่นเดียวกับเนื้อหา

ผู้สนใจสามารถส่งต้นฉบับบทความถึงรองบรรณาธิการได้ทางระบบ ThaiJO โดยมีรูปแบบการเขียนบทความ (Template) ที่สามารถ down load จากเว็บไซต์ของวารสาร https://journal.fiet.kmutt.ac.th ในการส่งต้นฉบับบทความ เจ้าของบทความจะต้องกรอกข้อมูลรายละเอียดในแบบฟอร์มการส่งบทความเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ (ดังเอกสารแนบท้าย) ซึ่ง down load จากเว็บไซต์ได้ พร้อมทั้งแนบไฟล์ต้นฉบับ ทั้งนี้ บทความที่ส่งมาต้องไม่เคยเผยแพร่ในสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร

ผู้เขียนสามารถสอบถามรายละเอียด หรือส่งบทความมายัง รศ. ดร.คมกฤตย์ ชมสุวรรณ (รองบรรณาธิการ)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร. 0 2470 8508   E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

บทความทุกเรื่องที่ส่งเข้ามายังกองบรรณาธิการวารสารจะถูกประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 3 ท่าน เป็นการประเมินแบบลับที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เขียนจะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blinded Review) โดยใช้ระยะเวลาพิจารณาไม่เกิน 45 วัน ในการตัดสินใจตอบรับหรือปฏิเสธการตีพิมพ์บทความนั้น ๆ ให้เป็นไปตามผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิและ/หรือกองบรรณาธิการ อนึ่ง กองบรรณาธิการขอสงวนลิขสิทธิ์ในการที่จะตอบปฏิเสธบทความใด ๆ ในเบื้องต้น หากการจัดเตรียมบทความนั้นไม่เป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด

  • กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์พิจารณาบทความที่มีรูปแบบและคุณสมบัติที่ครบถ้วนตามข้อกำหนดเท่านั้น หากบทความนั้นไม่ตรงตามข้อกำหนดกองบรรณาธิการฯ มีสิทธิ์ปฏิเสธในการลงตีพิมพ์
  • การขอหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ กองบรรณาธิการฯจะออกให้ในกรณีที่บทความนั้นพร้อมที่จะลงตีพิมพ์โดยไม่มีเงื่อนไขเท่านั้น
  • การพิจารณาบทความ (Peer review) ของวารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยีถือเป็นที่สิ้นสุด ผลงานวิชาการอาจไม่ได้ลงตีพิมพ์ในเล่มที่กำหนดไว้ จนกว่าจะผ่านการพิจารณาบทความ (Peer Review) และพร้อมจะลงตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเท่านั้น
  • งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์และสัตว์จะต้องผ่านการประเมินโดยกรรมการจริยธรรมของต้นสังกัด

JLIT ThaiJO Logo

บทความรับเชิญ ฉบับปฐมฤกษ์

ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 : มกราคม - มิถุนายน 2564
Vol. 1 No. 1 : January - June 2021

coverpage vol1 no1

Published: 2021-08-13

JLIT ThaiJO Logo

วารสารนวัตกรรมการเรียนรู้และเทคโนโลยี
Journal of Learning Innovation and Technology
ISSN 2773-9759 (Online)
ISSN 2773-9740 (Print)

 

ที่อยู่กองบรรณาธิการ

คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
126 ถนนประชาอุทิศ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 10140
โทรศัพท์ :  0 2470 8508
อีเมล์ :  journal.fiet@kmutt.ac.th

Search